การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อตัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียนในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้นผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไปว่าจะเป็นระดับชั้นเรียนระดับสถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียนตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
1. การตัดสินผลการเรียน
- ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชาผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น
-
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชีวัดและผ่านตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด -
ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา -
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินในระดับ“ ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. การให้ระดับผลการเรียน
การประเมินให้ระดับผลการเรียนของโรงเรียนกำหนดเป็น 8 ระดับดังนี้คือ
3. การเปลี่ยนผลการเรียน
1. การเปลี่ยนผลการเรียน “0"
-
ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนรายวิชานั้น -
ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาใหม่ทั้งนี้อยู่ดุลพินิจของโรงเรียนในกรณีที่เปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนวิชาใด
-
ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น -
ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติมจะอยู่ในดุลพินิจของโรงเรียนให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่
-
ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น -
ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติมจะอยู่ในดุลพินิจของโรงเรียนให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่
4. การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริมสถานศึกษาจะดำเนินการดังต่อไปนี้
-
ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะศึกษาในแต่ละรายวิชานั้นสถานศึกษาจะจัดการสอนซ่อมเสริมปรับความรู้ทักษะพื้นฐาน -
ผู้เรียนสามารถแสดงความรู้ทักษะกระบวนการหรือเจตคติคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ในการประเมินผลระหว่างเรียน -
ผู้เรียนที่ได้ระดับผลการเรียน "0" สถานศึกษาจะดำเนินการสอนซ่อมเสริมก่อนสอบแก้ตัว -
กรณีที่ผู้เรียนมีผลการเรียน“ มผ "สถานศึกษาจะดำเนินการสอนซ่อมเสริมในภาคฤดูร้อนเพื่อแก้ไขผลการเรียนทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา
5. การเรียนชั้น
ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นสถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ
-
ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 -
ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มสเกินกึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้นทั้งนี้หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้ง 2 ลักษณะสถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำจะอยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไขผลการเรียน
6. การจบระดับการศึกษา
1 การจบระดับประถมศึกษา
-
ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชากิจกรรมเพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด -
ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐานผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนมีผลการประเมินอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนระดับ“ ผ่าน” ขึ้นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับ“ ผ่าน” ขึ้นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนศ -
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมิน“ ผ่าน” ทุกกิจกรรม -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบสมิทธิผลทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages) ไม่ต่ำกว่าระคับ A2 -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ไม่ต่ำกว่าระดับ 2
-
ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมโดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิตโดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่ายกิตและรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต -
ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า “1” ทุกรายวิชา -
ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนในระดับ“ ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ “ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินในระดับ “ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทุกกิจกรรม -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบสมิทธิผลทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages) ไม่ต่ำกว่าระดับ B1 -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 -
ผู้เรียนต้องเข้าร่วมโครงการพัฒนาด้านภาษา (2 + 1 Summer Camp) ตามที่สถานศึกษาได้กำหนดอย่างน้อย 1 ครั้ง
-
ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิตโดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติม 40 หน่วยกิต -
ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 17 หน่วยกิตโดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต -
ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า“ 1” ทุกรายวิชา -
ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนในระดับ“ ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ“ ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด -
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินในระดับ“ ผ่าน” ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทุกกิจกรรม -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบสมิทธิผลทักษะกาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR (The Cornumon European Framework of Reference for Languages) ไม่ต่ำกว่าระดับ B2 หรือคะแนนสอบ TOEFL ไม่น้อยกว่า 450 หรือ IELTS ไม่น้อยกว่า 5. 5 หรือ TOEIC ไม่น้อยกว่า 550 -
ผู้เรียนต้องมีผลการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ไม่ต่ำกว่าระดับ 4 (แผนการเรียนอังกฤษ-จีน) หรือระดับ 3 (แผนการเรียนวิทย์-คณิต, คณิต-อังกฤษ) -
ผู้เรียนต้องเข้าร่วมโครงการพัฒนาด้านภาษา (24) Summer Camp) ตามที่สถานศึกษาได้กำหนดอย่างน้อย 1 ครั้ง
7. การเทียบโอนผลการเรียน
โรงเรียนทานตะวันไตรภาษากำหนดแนวทางการเทียบโอนผลการศึกษาดังนี้
-
ผู้ขอเทียบโอนต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียนทานตะวันไตรภาษาโดยดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนในภาคเรียนแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น -
จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาจำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนและอายุของผลการเรียนที่จะนำมาเทียบโอนให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษาทั้งนี้เมื่อเทียบโอนแล้วผู้ขอเทียบโอนต้องมีเวลาเรียนอยู่ในโรงเรียนนี้ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน -
การเทียบโอนผลการเรียนจะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนจำนวน 3-5 คน -
การเทียบโอนผลการเรียนให้ดำเนินการดังนี้
-
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษากำหนดจำนวนรายวิชานานหน่วยกิตที่ให้ผู้เรียนสามารถขอเทียบโอนได้ในการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนทานตะวันไตรกาษาซึ่งยึดถือตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ. ศ. 2560) ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องเหลือรายวิชาที่จะต้องศึกษาในโรงเรียนนี้อีกอย่างน้อย 1 ภาคเรียนก่อนจบระดับการศึกษา -
คณะกรรมการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษาจัดสร้างเครื่องมือสำหรับการเทียบโอนผลการเรียนและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน -
คณะกรรมการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนทำการเทียบโอนผลการเรียนให้ผู้เรียนดังนี้ผู้เรียนย้ายสถานศึกษาเป็นการเทียบโอนผลการเรียนเดิมที่ผู้เรียนศึกษามาก่อนเข้าศึกษาในสถานศึกษานี้